Skip to Content

ภัยพิบัติทางธรรมชาติ พยากรณ์อากาศ น้ำท่วม ทรัพยากรน้ำ

วิธีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาสมุทร สึนามิ ไทย สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว อุปกรณ์กู้ภัย วิธีการช่วยคนจมน้ํา ภูมิอากาศ ภาวะเรือนกระจก โลกร้อน มหันตภัย

วิธีการกู้ภัยเรือล่มในทะเล

วิธีการกู้ภัยเรือล่มในทะเล

Closed

หลายคงเคยสงสัยว่าเพราะเหตุใดการที่เรือล่มในทะเล ต้องใช้งบประมาณหรือเวลาในการกอบกู้นานมาก นั่นเป็นเพราะว่าส่วนใหญ่แล้วเรือที่จะไปล่มอยู่กลางทะเลได้มักจะไม่ใช่เรือขนาดเล็ก โดยส่วนใหญ่เรือที่จะแล่นแผ่นกลางทะเลลึกมักจะเป็นเรือส่งสินค้า เรือท่องเที่ยว เรือสำราญ โดยแต่ละประเภทที่กล่าวไปนั้นผู้อ่านคงพอจะนึกออกนะคะ ว่ามันมีขนาดใหญ่แค่ไหน แถมกระแสน้ำกลางทะเลลึกนั้นมีแรงดันสูง การที่จะยกวัตถุหนักๆ ทำให้ยากมากแถมยังเสี่ยงสูงด้วยและบริเวณที่เรือล่มก็เป็นบริเวณที่อยู่ห่างไกลจากพื้นดิน ดังนั้นการกอบกู้ซากเรือที่ล่มนั้นจึงต้องใช้เวลา และงบประมาณจำนวนมหาศาล หรือบางคนคิดว่าแล้วทำไมถึงไม่ปล่อยเอาไว้ ซึ่งนั่นอาจจะเป็นความคิดที่เห็นแก่ตัวและไร้ซึ่งความรับผิดชอบ เพราะเรือที่ล่มนั้นไม่ได้มีเพียงแค่ซากเรือ แต่สิ่งที่เรือบรรจุนั้นมีมากมาย ซึ่งถ้าแย่หน่อยก็เป็นพวกน้ำมันต่างๆ มันสามารถที่จะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมบริเวณรอบนั้นได้ อาจเกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในบริเวณนั้นๆ อาจส่งผลเสียต่อระบบนิเวศในระยะยาวได้ด้วย นอกจากนี้หากเรือที่จมนั้นเป็นเรือของหน่วยงานเอกชน ไม่ว่าจะเป็นของประเทศนั้นเองหรือต่างประเทศก็ตาม หากไม่ดำเนินการกอบกู้ตามเวลาที่ทางหน่วยงานของประเทศนั้นๆ กำหนด เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานประเทศเจ้าของน่านน้ำ หรือกรมเจ้าท่าจะเข้าไปดำเนินการกู้เอง หลังจากนั้นจะนำเอาทรัพย์สินไปขายทอดตลาด เพื่อใช้เป็นค่าดำเนินการ

 

มาถึงในส่วนของการกู้เรือล่มกลางทะเล ซึ่งโอกาสในการล่มของเรือในทะเลนั้นไม่ได้ถือว่ามีบ่อยมากนัก แต่ก็มีข่าวอยู่เรื่อยๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ โดยส่วนใหญ่แล้วเรือขนาดใหญ่ที่ล่มอยู่กลางทะเล จะมีวิธีการกอบกู้ก็คือทำเรือนั้นกลายเป็นชิ้นเล็กๆ โดยการผ่าเรืออกเป็นชิ้นหรือบางครั้งก็จะใช้วิธีการระเบิดเรือ จากนั้นก็เก็บชิ้นส่วน เหล่านั้นออกมาจากบริเวณที่ล่มและด้วยความที่จมอยู่กลางทะเลที่มาระยะทางค่อนข้างไกลออกไปจากชายฝั่งต้องใช้ระยะเวลานานมากกว่าที่จะเก็บซากเรือได้หมด แต่นอกจากวิธี 2 วิธีนี้ หากใครได้ติดตามข่าวเรื่องของ เรือ COSTA CONCORDIA ที่ล่มนอกชายฝั่งเกาะกิกลิโอ้เนื่องจากแล่นเข้าไปชนกับหินโสโครก เหตุการณ์ครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตถึง 32 คน ซึ่งเรือล่มในครั้งนี้จำเป็นที่จะต้องมีวิธีการกู้ที่แตกต่างกันออกไป เพราะว่าภายในของเรือนั้นบรรจุสารเคมีมากมายไม่ว่าจะเป็น น้ำมันหล่อลื่น ยาฆ่าแมลง กาวและทินเนอร์ที่ถูกนำมาไว้บนเรือเพียง 3 ชม. ก่อนเรือประสบอุบัติเหตุ นอกจากนี้ก็ยังมีอาหารสดจำพวกเนื้อสัตว์และอาหารอีกหลายชนิดอีกหลายพันกิโลกรัม จำเป็นต้องใช้วิธีการกู้ที่แตกต่างออกไปเพื่อไม่ของที่บรรจุอยู่ในเรือนี้สร้างความเสียหายแก่น่านน้ำบริเวณนั้น วิธีการกู้เรือลำนี้ก็คือการ ยึดเรือเข้ากับสายเคเบิลแล้วดึงเรือให้ตั้งตรงด้วยระบบไฮดรอลิกจากนั้นก็ใช้เรือลำอื่นลากออกไปยังชายฝั่ง ซึ่งในการกู้เรือครั้งนี้ถือเป็นครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยใช้ค่าใช้จ่ายกว่า 33,000 ล้านบาท ใช้กำลังคนในการกอบกู้ถึง 500 คน จาก 26 ประเทศเพื่อช่วยระดมความคิดกัน นอกจากนี้เจ้าหน้าที่แต่ละคนก็จะต้องมีความเชี่ยวชาญอย่างมากด้วย

Previous
Next